บัตรประจำตัวประชาชน ถือได้เป็นบัตรยันยืนตัวตนของคนไทยที่ทางราชการออกให้แก่ผู้ที่มีชื่อในทะเบียนบ้านเท่านั้น ซึ่งใช้เป็นหลักฐานแสดงตัวตนในการขอใช้บริการต่าง ๆ ของภาครัฐเเละภาคเอกชนบางประเภท หรือเข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ผู้ที่ถือบัตรประจำตัวประชาชนไทย คือ ผู้ที่ผ่านการยันยืนตัวตนการเป็นคนไทยอย่างแท้จริง
ซึ่งผู้คนเหล่านี้จะสามารถใช้บริการจากภาครัฐ รวมถึงภาคธุรกิจเอกชนในบางประเภทได้ เช่น การเปิดใช้หมายเลขโทรศัพท์ภายในประเทศ และเมื่อมีบัตรประชาชนก็เปิดบัญชี ธนาคารได้ นอกจากนี้ บัตรประจำตัวประชาชนยังใช้ในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ภายในประเทศ เช่น การสมัครงาน การโอนอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
สำหรับใครที่ต้องการทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ เนื่องจากบัตรหายหรือถูกทำลาย เชิญทางนี้เลยค่ะ เพราะวันนี้เรามีวิธีการทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่มาแนะนำทุกคน ซึ่งจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น มาติดตามไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้ได้เลย
ทำบัตรประจำตัวประชาชนที่ไหนได้บ้าง?
สำหรับสถานที่ทำบัตรประจำตัวประชาชนนั้น คุณสามารถติดต่อทำบัตรประจำตัวประชาชนได้ ณ ที่ทำการราชการจังหวัดทั่วประเทศ ดังนี้
- สำนักงานเขต
- สำนักงานเทศบาล
- สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง
- ที่ว่าการอำเภอ
นอกจากนี้ ยังมีจุดบริการด่วนมหานคร (BMA EXPRESS SERVICE) ที่เปิดให้บริการทำบัตรประจำตัวประชาชน ณ สถานีรถไฟฟ้า BTS ในกรุงเทพฯ ได้แก่ สถานีรถไฟฟ้าสยาม (หน้าศูนย์การค้าสยามพารากอน), สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต, สถานีรถไฟฟ้าพร้อมพงษ์, สถานีรถไฟฟ้าอุดมสุข, สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่
วิธีการทำบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก
ตามกฎหมายประเทศไทยผู้ที่สามารถทำบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรกได้นั้น ต้องเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย และมีอายุครบ 7 ปีบริบูรณ์ รวมถึงต้องมีชื่อในทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) โดยต้องทำบัตรประจำตัวประชาชนภายใน 60 วัน จึงจะไม่เสียค่าธรรมเนียม แต่หากพ้นกำหนดการนี้ ผู้ขอทำบัตรต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท
เอกสารที่ต้องใช้ทำบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก
- หลักฐานที่แสดงว่าเป็นบุคคลเดียวกันกับผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน เช่น ใบสูติบัตร สำเนาทะเบียนนักเรียน หนังสือเดินทาง เป็นต้น
- กรณีเด็กเคยเปลี่ยนชื่อ-สกุล หรือพ่อแม่ของเด็กเคยเปลี่ยนชื่อ-สกุล ต้องนำใบสำคัญมาแสดงด้วย
- หากไม่มีเอกสารที่ระบุในข้อ 1-2 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือ เช่น ผู้ใหญ่บ้าน มารับรองแทนก็ได้
- กรณีพ่อแม่เป็นคนต่างด้าว ให้นำบัตรประจำตัวคนต่างด้าวของพ่อแม่มาแสดงด้วย
- กรณีพ่อหรือแม่ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่กรรม ให้นำใบมรณบัตรมาแสดงด้วย
- กรณีขอทำบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรกเมื่ออายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป คุณต้องนำเอกสารตามกำหนดข้อ 1,2,3,4 และนำเจ้าบ้านและบุคคลที่น่าเชื่อถืออย่างน้อย 2 คนขึ้นไป มาพบกับเจ้าหน้าที่ด้วย เพื่อสอบสวนและให้การรับรอง
หมายเหตุ : บุคคลที่น่าเชื่อถือ ต้องเป็นบุคคลที่มีภูมิลำเนาที่อยู่แน่นอน มีอาชีพมั่นคงและมีความคุ้นเคยกับผู้ขอทำบัตรเป็นอย่างดี
วิธีการทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ กรณีบัตรหาย หรือบัตรถูกทำลาย
กรณีที่คุณทำบัตรประจำตัวประชาชนหาย หรือบัตรถูกทำลาย เช่น บัตรถูกไฟไหม้บางส่วน บัตรชำรุด ข้อความหน้าบัตรเลอะเลือน เป็นต้น คุณไม่จำเป็นต้องไปแจ้งความ เพราะเจ้าหน้าที่จะทำการบันทึกแจ้งบัตรประชาชนหายในเอกสาร บป.7
จากนั้นก็ให้คุณดำเนินการขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่บัตรหายหรือถูกทำลาย โดยเสียค่าธรรมเนียมในการทำบัตรใหม่ 20 บาท แต่หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท
เอกสารที่ต้องใช้ทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ กรณีบัตรหาย หรือบัตรถูกทำลาย
- กรณีบัตรถูกทำลายให้นำบัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่ชำรุดหรือถูกทำลายมาด้วย
2. เอกสารราชการที่มีรูปถ่ายของผู้ขอทำบัตรใหม่ เช่น ใบขับขี่ หนังสือเดินทาง เป็นต้น
3. หากไม่มีหลักฐานข้อ 2 ให้นำเจ้าบ้าน หรือบุคคลน่าเชื่อถือไปรับรองต่อเจ้าหน้าที่
ขั้นตอนการทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่
- ติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์ หรือเจ้าหน้าที่ เพื่อตรวจเอกสาร และรับบัตรคิว
- เจ้าหน้าที่จะทำการสอบถามรายละเอียดของผู้ขอทำบัตร
- พิมพ์ลายนิ้วมือและเขียนคำร้องเพื่อขอมีบัตรประจำตัวประชาชน
- เจ้าหน้าที่จะให้ยืนถ่ายรูปติดบัตร
- รอให้เจ้าหน้าที่พิจารณาอนุมัติบัตรประชาชน และสแกนนิ้วมืออีกครั้ง
- ส่งมอบบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ให้แก่คุณ
สมัครบาคาร่า888
ข้อดีของการสมัครบาคาร่า แบบ OTP
สมัครบาคาร่าระบบออโต้ไม่ต้องแชทผ่านไลน์